ช้อปดีมีคืน คืออะไร? ใช้ยังไง? ซื้ออะไรได้บ้าง?

ช้อปดีมีคืน คืออะไร? ใช้ยังไง? ซื้ออะไรได้บ้าง?

ทำความรู้จักกับโครงการช้อปดีมีคืน อีกหนึ่งโครงการของรัฐบาลที่จัดขึ้น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โครงการช้อปดีมีคืน เป็นหนึ่งในมติที่ทางรัฐบาลเห็นชอบ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และ บรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน และช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ร้านค้ารายย่อย ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ช้อปดีมีคืน เป็นมาตรการ 

สำหรับบุคคลที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ สามารถสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีได้ โดยนำจำนวนเงินที่ซื้อสินค้าและบริการ มาใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามจำนวนที่จ่ายจริง ซึ่งรวมกันไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน

โดยผู้ที่ต้องการใช้สิทธิ์ดังกล่าวไม่จำเป็นต้องลงทะเบียน แต่ขอเป็นเพียงใบกำกับภาษีเท่านั้น อย่างไรก็ตามผู้ที่ลงทะเบียนโครงการ คนละครึ่ง หรือ ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ของโครงการช้อปดีมีคืนได้

ซึ่งผู้รับสิทธิ์สามารถใช้ซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่สามารถออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มรูปแบบ ในกรณีของ E-Book จะต้องมีเอกสารหลักฐานที่ชัดเจน จึงจะสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้

อย่างไรก็ตามมีสินค้าบางประเภทที่โครงการช้อปดีมีคืน ไม่สามารถใช้ได้ ได้แก่ สุรา เบียร์ และไวน์ ยาสูบ ค่าน้ำมัน และก๊าซ สำหรับเติมยานพาหนะ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ หนังสือพิมพ์และนิตยสาร ทั้งสิ่งพิมพ์ และอิเล็กทรอนิกส์ บริการจัดนำเที่ยว ที่พักในโรงแรม

ทั้งนี้เม็ดเงินที่จะนำมาใช้ในโครงการระยะที่ 2 จะอยู่ในวงเงินของ พรก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูผลกระทบจากสถานการณ์ Covid-19 ได้มีการใช้งบไปแล้ว 2 แสนล้านจากทั้งหมด 4 แสนล้านบาท ซึ่งก็ต้องมีการทำรายละเอียดเสนอให้ทางสภาพัฒน์ และคณะกรรมการพิจารณากันก่อน

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง ได้ทำการเสริมเพิ่มเติมว่า สำหรับผู้ที่ทำการลงทะเบียนในโครงการระยะแรกที่มีวงเงิน 3,000 บาทนี้ จะมีข้อความหรือปุ่มให้ทำการยืนยันการเข้าร่วมโครงการในระยะที่ 2 และผู้ที่ทำการลงทะเบียนเฉพาะในระยะที่ 2 เท่านั้นจะไม่ได้รับเงินในส่วนของระยะแรกทบเพิ่มแต่อย่างใด

ปตท. ได้ทำการประกาศ ผลกำไร สุทธิในไตรมาสที่ 3 ทำได้ 1.4 หมื่นล้านบาท ลดลงไป 30% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนผลใน 9 เดือนแรกนั้นอยู่ที่ 2.4 หมื่นล้านบาท ลดลงไปโดยรวม 67% เนื่องด้วยการขาดทุนจาก สต๊อกน้ำมัน

ในวันนี้ทาง ปตท. (PTT) ได้ทำการประกาศ ผลกำไร สุทธิ ในไตรมาสที่ 3 ซึ่งทำไปได้ไปได้ 14,120 ล้านบาท ถือว่าลดลงไป 30% จากผลในช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนผลโดยรวมของ 9 เดือนแรกนั้น อยู่ที่ 24,619 ล้านบาท ซึ่งก็ถือนับว่าลดลงไปโดยรวมประมาณ 67% โดยเป็นผลมาจากการแบกรับภาระของการเสื่อมลงของ สต๊อกน้ำมัน หรือ EBITDA

คนละครึ่ง ใช้ได้วันละ 150 บาท ใช้ไม่หมด ถูกหัก หรือ ทบยอด

หลังจากที่เปิดให้มีการลงทะเบียนรับสิทธิ์ คนละครึ่ง ในตอนเช้าวันนี้ไปแล้วนั้น ก็ต้องมาถามว่า เงิน 150 บาทนี้ ถ้าใช้ไม่หมดเงินจะ ถูกหัก หรือ ทบยอด ไปกันแน่ ภายหลังจากการเปิดให้ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ในโครงการ คนละครึ่ง ในตอนเช้าของวันนี้ที่หมดลงอย่างรวดเร็วในเวลา 3 ชั่วโมงกว่า ก็นำมาสู่คำถามที่ว่าเงินที่ใช้ได้ 150 บาทต่อวัน ถ้าใช้เงินต่อวันนี้ไม่หมดละก็เงินจะ ถูกหัก ออกไปหรือจะไป ทบยอด กับโควต้าเงินในวันถัดไป

โดยทาง Tadoo ก็ได้ลองศึกษาดูแล้วว่าเงินที่เหลือนั้นจะไปไหนกันแน่ ซึ่งก็พบว่าเงินที่เหลือจากการใช้งานต่อวันนั้น จะนำไป ทบยอด กับโควต้าการใช้เงินในวันถัดไป

คิดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าในวันนี้ คุณใช้เงินไปแค่ 100 บาท ระบบจะทำการทบเงินส่วนนี้ไว้ แล้วเริ่มใช้งานโควต้าใหม่ในเวลา 6.00 ของวันถัดไป อีกนัยหนึ่งก็คือคุณจะใช้งานสิทธิ์นี้ได้นานยิ่งขึ้น ตราบเท่าที่ยังอยู่ในระยะเวลาของโครงการ และวงเงินใหญ่จำนวน 3,000 บาท

โดยระยะเวลาของการใช้สิทธิ์นี้ คุณสามารถใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 และต้องทำการใช้สิทธิ์ภายใน 14 วันหลังได้รับการยืนยันสิทธิ์

จากการประกาศผลกำไรในไตรมาสที่ 3 ที่ทำไปได้ 14,120 ล้านบาทนั้น ถือว่าลดลงไปเป็นจำนวน 6,135 ล้านบาท นับเป็ย 30% จากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว จากอัตราการแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาทและดอลลาร์สหรัฐ รวมไปถึงจากการด้อยค่าของธุรกิจถ่านหินที่เสียไป 1,397 ล้านบาท

ในส่วนของผลโดยรวมในช่วง 9 เดือนแรกนั้น มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 24,619 ล้านบาท โดยลดลงไป 50,886 ล้านบาท ถือว่าเป็น 67% จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นลดลงตามความเสื่อมถอยของสต๊อกน้ำมัน หรือ EBITDA รวมไปถึงผลของค่าเงินเช่นเดียวกับในไตรมาสที่ 3

แม้ว่าจะมีกำไรเพิ่มขึ้นมาจากส่วนของตราสารอนุพันธ์และค่าใช้จ่ายภาษีที่ลดลงไป ที่เป็นผลมาจากการดำเนินงานของบริษัทก็ตาม

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป