ชาวเน็ตดีเ็น ประวิตร ใช้เคสมือถือ ท้าวเวสสุวรรณ หลังหยิบมือถือขึ้นมาระหว่างการประชุม ชาวเน็ตแซวถึงว่าช่วงนี้ดูแข็งแรง กลายเป็นที่ฮือฮาหลังจากที่มีชาวเน็ตสังเกตว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ใช้เคสมือถือเป็น ภาพท้าวเวสสุวรรณ ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้
ชาวเน็ตสังเกตเห็นว่า พล.อ.ประวิตร ใช้เคสมือถือท้าวเวสสุวรรณ
หลังจากที่ พล.อ.ประวิตร กำลังนั่งประชุมในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการ การกีฬาแห่งประเทศไทย(กกท.) ที่ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 21 ก.ย. ที่ผ่านมา และได้หยิบมือถือขึ้นมา
ท้าวเวสสุวรรณ แห่งวัดจุฬามณี เป็นองค์เทพที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบันจากการกราบไหว้ของผู้ศรัทธาทั่วสารทิศในประเทศไทย มีต้นกำเนิดมาจากหลายตำนาน หลายความเชื่อ ทั้งของไทย ของพุทธ และของพราหมณ์ แต่ลักษณะเด่นที่มีร่วมกันคือ เจ้าหรือนายแห่งภูตผีปีศาจ รวมถึงยักษ์ และอสูรต่าง ๆ
สำหรับความศักดิ์สิทธิ์ของท้าวเวสสุวรรณ นั้นสามารถขอได้ตั้งแต่เรื่องงาน การเงิน ความรัก ครอบครัว สุขภาพ การศึกษา หรือกระทั้งขอเรื่องการสอบบรรจุข้าราชการ โดยในการบนบางเรื่องต่างๆมีบทสวดและของถวายที่ต่างกันไป
“ผมว่าจริงๆ แล้วกรุงเทพตอนกลางคืนน่าเที่ยวนะพ เช่น วัดโพธิ์ฯ ไปเที่ยวถึง 4 ทุ่มได้ไหม ? ช่วงกลางคืน อากาศก็ดี รถก็ไม่ติด เราขายเวลาไปกลางคืนทำไลท์ติงให้สวยทั้งคืน ผมเชื่อว่ามีเอกชนสนับสนุนเต็มที่ ส่วนตัวหากจะเน้นการท่องเที่ยวยามค่ำคืน กทม. อย่าทำเอง เพราะไม่ชำนาญเท่าภาคเอกชนที่อยุ่กับตรงนี้และมีประสสบการณ์มากกว่า ทำได้ดีกว่า” นายชัชชาติ ระบุ “บางคนบ่นเปิดผับถึงตี 4 รบกวนแขกโรงแรมอันนี้ต้องหาจุดสมดุลให้ได้ หัวใจของกทม.”
ทั้งนี้ แนวคิดขยายเวลาสถานบันเทิง ผับ-บาร์ ขยับเวลาปิดจากเดิม 02.00 น. เป็น 04.00 น. นายชัชชาติ ให้ความเห็นว่า ถือเป็นการนำสิ่งที่อยู่ใต้โต๊ะขึ้นมาไว้บนโต๊ะ จะได้กำกับดูแลกันได้ดีขึ้น ง่ายขึ้น แต่สิ่งที่กทม.ยังกังวลอยู่ เท่าที่ฟังผู้ประกอบการโรงแรมหลายแห่ง
ประเด็นเปิดสถานบันเทิงถึงตี 4 ยังมีกลุ่มที่คัดค้านแนวคิดนี้อยู่จำนวนมาก จึงจำเป็นต้องหันหน้ามาคุยกัน หาจุดกึ่งกลาง ไม่ให้การดำเนินนโยบายเพื่อประโยชน์ของคนกลุ่มหนึ่งแล้วกระทบคนอีกกลุ่ม เรื่องเวลาปิดเปิดผับบาร์นั้น ผู้ว่าพ่อเมืองคนกรุง ระบุ จากนี้คงต้องหารือกับทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดสมดุลที่ตรงกันโดยไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบลและเจอผลกระทบจากการตัดสินใจข้อเสนอดังกล่าว
กกต. เสนอ 7 พ.ค. เข้าคูหาหย่อนบัตร เลือกตั้ง 2566
กกต. อาจจะให้คำตอบว่า เลือกตั้งปี 2566 วันไหน โดยได้เตรียมแผนเลือกตั้งเป็นวันที่ 7 พ.ค. 66 ส่วนเปิดรับสมัคร ส.ส. 3-7 เม.ย.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. กำหนดให้วันเลือกตั้ง 2566 เป็นวันที่ 7 พ.ค.66 และรับสมัครเลือกตั้งนายกในวันที่ 3-7 เม.ย. 66 ในการเตรียมแผน แผนการเลือกตั้งกรณีสภาผู้แทนราษฎรครบวาระ ในวันที่ 23 มี.ค.2566 แล้ว ซึ่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 102 กำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 45 วัน นับแต่วันที่สภาฯ สิ้นอายุ
ส่วนรายละเอียดของแผนจัดการเลือกตั้งเบื้องต้นที่กกต.กำหนดนั้น นับจากวันที่ 23 มี.ค.66 ที่อายุสภาฯ สิ้นสุดลง โดยวันที่ 30 มี.ค.66 จะเป็นวันสุดท้ายที่คาดว่าพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ) ให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. มีผลบังคับใช้วันที่ 31 มี.ค. 66 กกต.ประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง และประกาศกำหนดวันรับสมัคร
วันที่ 3-7 เม.ย. 66 รับสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.
วันที่ 11 เม.ย. 66 วันสุดท้ายของการประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้ง และที่เลือกตั้ง และเป็นวันสุดท้ายประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
วันที่ 14 เม.ย. 66 ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัครส.ส.
วันที่ 16 เม.ย. 66 วันสุดท้ายส่งหนังสือแจ้งเจ้าบ้าน และสรรหาแต่งตั้งคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง
วันที่ 26 เม.ย. 66 วันสุดท้ายของการเปลี่ยนแปลงหน่วยเลือกตั้งและสถานที่เลือกตั้ง รวมถึงวันสุดท้ายของการเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ
วันที่ 30 เม.ย. 66 วันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง และนอกเขตเลือกตั้ง รวมทั้งแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
วันที่ 1-6 พ.ค. 66 ระยะเวลาแจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยวันที่ 1 พ.ค. 66 เป็นวันสุดท้ายยื่นคำร้องเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
วันที่ 3 พ.ค. 66 วันสุดท้ายศาลฎีกาพิจารณาสิทธิสมัคร กรณีผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งไม่รับสมัคร
วันที่ 6 พ.ค. 66 วันสุดท้ายที่ผอ.เลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ยื่นคำร้องศาลฎีกา กรณีผู้สมัครขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม
วันที่ 7 พ.ค. 66 วันเลือกตั้งส.ส. เป็นการเลือกตั้งทั่วไป
วันที่ 8-14 พ.ค. 66 วันแจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป